ย้อนคำตัดสิน "คดียึดทรัพย์ 4.6หมื่นล้าน" แก้สัญญา TOT เอื้อประโยชน์ AIS

สำนักข่าวทีนิวส์ยังคงเกาะติดว่าท้ายที่สุด บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน หรือ TOT จะทำการเรียกค่าเสียหายจากบริษัท แอดวานซ์ อิน โฟร์ เซอร์วิส จ...


สำนักข่าวทีนิวส์ยังคงเกาะติดว่าท้ายที่สุด บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน หรือ TOT จะทำการเรียกค่าเสียหายจากบริษัท แอดวานซ์ อิน โฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชนหรือ AIS เมื่อไหร่อย่างไร


แม้ว่าเมื่อวันที่ 18 กันายนที่ผ่านมานั้นจะมีข่าวออกมาว่าคณะกรรมการของทีโอทีนั้นได้มีการประชุมหารือกันแต่ก็ยังไม่ได้มีมติหรือการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเรียกค่าเสียหายจาก เอไอเอส หรือไม่อย่างไรเพราะฉะนั้นคำตอบที่ชัดเจน ณ ขณะนี้นั้นก็ยังคงต้อรอฟังจาก บอร์ด หรือคณะกรรมการของ ทีโอที มีด้วยกันทั้งหมด 11 คน


ซึ่งคณะกรรมการของบริษัท ทีโอที จำกัดมหาชน ประกอบด้วย
พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน
นายพิพัฒน์ ขันทอง รองประธานกรรมการ
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร  กรรมการ
นายกฤษฎา บุณยสมิต  กรรมการ
นายธันวา เลาหศิริวงศ์  กรรมการ
นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข  กรรมการ
นางศิริพร เหลืองนวล  กรรมการ
พ.อ.สมเกียรติ สัมพันธ์  กรรมการ
รศ.ชิต เหล่าวัฒนา  กรรมการ
ดร.อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ  กรรมการ
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ  กรรมการ
นายณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ กรรมการ
นายจตุพร บุรุษพัฒน์  กรรมการ
ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล  กรรมการ


ว่ากันว่าหากคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัดมหาชนนั้นไม่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ชัดเจนก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ


โดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ระบุไว้ว่า  ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ


ที่ผ่านมาสำนักข่าวทีนิวส์ก็นำเสนอให้คุณผู้ชมทำความเข้าใจไปแล้ว ว่าเหตุผลที่ ทีโอที ต้องเรียกค่าเสียหายจาก เอไอเอส นั้นเป็นผลมาจากการแก้ไขสัญญาอย่างน้อย 2 ครั้งและการออกมติของคณะรัฐมนตรี อย่างน้อย 1 ครั้งที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ระบุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอันเอื้อประโยชน์ให้กับ เอไอเอส และทำให้ ทีโอที ได้รับความเสียหาย


และในวันนี้เราก็จะได้มาพิจารณาอีก 1 ท่อนที่สำคัญของคำพิพากษาที่ เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงที่มาที่ไปของการแก้ไขสัญญาระหว่าง ทีโอทีและเอไอเอส ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้นายทักษิณ และครอบครัวชินวัตร ดามาพงษ์ หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อน


คำพิพากษาของศาล เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ถูกแบ่งออกเป้น 2 ส่วน
1.นายทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นเจ้าของหุ้น ชินคอร์ปหรือไม่
2.นายทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เอื้อผลประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปหรือไม่


โดยในวันนี้ทางสำนักข่าวทีนิวส์ก็จะแจกแจงประเด็นที่ 1 ให้รับทราบกันว่า มูลเหตุจูงใจใจสำคัญที่ทำให้ มีโอที แก้ไขสัญญา เอไอเอส และ มติคณะรัฐมนตรีในการเปลี่ยนต่อสัมปทานสรรพสามิตเพื่อที่จะสร้างผลประโยชน์ให้นายทักษิณ และครอบครัวโดยในรายละเอียดคำฟ้องของ คตส.ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน


ซึ่งนายทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ปกปิดอำพรางการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ ซึ่งบริษัทชินคอร์ปฯ เป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานในกิจการโทรคมนาคมจากรัฐ เมื่อ คตส.ตรวจสอบการถือครองหุ้น พบว่า บริษัทชินคอร์ปฯ ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมจากรัฐตามสัญญา ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน 2543 และบริษัทชินคอร์ปฯ ยังเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 42.90 ในบริษัทเอไอเอส นอกจากนั้น บริษัทเอไอเอส ยังเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัทดิจิตอลโฟน และ บริษัทชินคอร์ปฯ ยังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ ซึ่ง ทักษิณ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรียังคงไว้ซึ่งหุ้น บริษัทชินคอร์ปฯ


กล่าวคือวันที่ 10 เมษายน 2541 ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ได้ถือหุ้น 32,920,000 หุ้น ขณะที่ นางพจมาน ชินวัตร(ภรรยาขณะนั้น) ถือหุ้น 34,650,000 หุ้น


โดยเมื่อปี 2542 มีการเพิ่มทุน ทำให้วันที่12 เมษายน 2542 ทักษิณ มีหุ้นเพิ่มเป็น 65,840,000 หุ้น ขณะที่ นางพจมาน มีหุ้น 69,300,000 หุ้น รวมหุ้นทั้งสองคิดเป็น 48.75 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 


ต่อมาทั้งสองมีการโอนหุ้นดังนี้ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542.ทักษิณ โอนหุ้น  32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช อินเวสท์เมนท์ จำกัด , 1 กันยายน 2543 ทักษิณ โอนหุ้นให้แก่ นายพานทองแท้ 30,920,000 หุ้น และ โอนหุ้นให้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 2,000,000 หุ้น


1 กันยายน 2543 คุณหญิงพจมาน โอนหุ้นให้พานทองแท้ 42,475,000 หุ้น และ โอนหุ้นให้ นายบรรณพจน์  26,825,000 หุ้น และเมื่อ รวมกับที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทำให้ นายบรรณพจน์ มีหุ้นทั้งสิ้น 33,634,150 หุ้น


ต่อมา วันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัทชินคอร์ป จดทะเบียนลดมูลค่าหุ้นลงจากหุ้นละ 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท ทำให้ผู้ถือหุ้นแทนดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ดังนี้ นายพานทองแท้ ที่ถือหุ้นแทน 733,950,000 หุ้น ต่อมาวันที่ 9  กันยายน 2545 และ 17 พฤษภาคม 2546 นายพานทองแท้ โอนหุ้นให้แก่ น.ส.พิณทองทา ถือหุ้นแทน  440,000,000 หุ้น คงเหลือหุ้นในนามของนายพานทองแท้ 293,950,000 หุ้น ,


นายบรรณพจน์ถือหุ้นแทน 336,340,150 หุ้น , นางสาวยิ่งลักษณ์ ถือหุ้นแทน 20,000,000 หุ้น บริษัทแอมเพิลริชฯ ถือหุ้น 329,200,000 หุ้น  ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2549 บริษัทแอมเพิลริชฯ โอนหุ้นให้ น.ส.พิณทองทา ถือหุ้นแทน 164,600,000 หุ้น และ โอนหุ้นให้ นายพานทองแท้ ถือหุ้นแทนอีก 164 ,600,000 หุ้น


สรุปได้ว่า ขณะที่ ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ภรรยา มีผู้ถือหุ้นแทน ดังนี้ 1.นายพานทองแท้ 458,550,000 หุ้น , 2.น.ส.พิณทองทา  604,600,000 หุ้น , 3.นายบรรณพจน์ 336,340,150 หุ้น และ 4. น.ส.ยิ่งลักษณ์  20,000,000 หุ้น รวมทั้งสิ้น 1,419,490,150 หุ้น


โดยการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของนายบรรณพจน์รวมถึงการโอนหุ้นให้แก่นายพานทองแท้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ นายบรรณพจน์ นั้น เชื่อว่า ไม่มีการซื้อขายกันจริง แต่เป็นการทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่ามีการซื้อขายเท่านั้น และตั๋วสัญญาใช้เงินเชื่อว่าเป็นการจัดทำขึ้นภายหลัง หุ้นดังกล่าวยังคงเป็นของ ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน บริษัทแอมเพิลริชฯ ที่ ทักษิณ ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว ได้ระบุว่า ได้ขายหุ้นของบริษัทให้แก่นายพานทองแท้ ในราคา 1,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 มีเพียงหนังสือของนายพานทองแท้ โดยลำพังเท่านั้น ที่แจ้งต่อ กลต. ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี จึงมีการมาแจ้ง แต่เมื่อ กลต.ตรวจสอบ พบข้อเท็จจริงเพียงว่า นายพานทองแท้ ที่ยอมรับว่า ได้ซื้อและเข้าถือหุ้นแทน ทักษิณ แต่ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ที่สนับสนุนว่า ทักษิณ ได้โอนหุ้นให้แก่ นายพานทองแท้ จริง

ที่มา:http://www.tnews.co.th/html/content/161940/

You Might Also Like

0 comments

Flickr Images

Close
Advertiser
loading...