กว่าจะมาเป็น.. ปลาทับทิม...เรื่องราวที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้

กว่าจะมาเป็น.. 'ปลาทับทิม'...เรื่องราวที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้ กว่าจะมาเป็น.. 'ปลาทับทิม' ทุกครั้งที่มีผู้นำปลาน...


กว่าจะมาเป็น.. 'ปลาทับทิม'...เรื่องราวที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้

กว่าจะมาเป็น.. 'ปลาทับทิม'

ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะทรงโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย วันหนึ่งมีผู้กล้าหาญกราบบังคมทูลฯถามเพื่อให้หายสงสัย

มีรับสั่งว่า "ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร"

มูลเหตุของเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตแห่งญี่ปุ่น ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร ทรงส่งปลาจำนวน 50 ตัว มาทูลเกล้าฯ ถวาย ปลาชนิดนั้นเป็นพันธุ์เดียวกับปลาหมอเทศแต่เจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ขยายพันธุ์ได้ง่าย เนื้อมีรสอร่อยคล้ายปลากะพง ต่อมาได้พระราชทานชื่อว่า 'ปลานิล' และได้ทรงให้มีการขยายพันธุ์ในสวนจิตรลดา โดยทรงทดลองเลี้ยงด้วยพระองค์เอง เมื่อขยายพันธุ์ได้จำนวนมากแล้ว ได้พระราชทานแก่กรมประมงเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่สถานีประมงของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ แล้วแจกจ่ายต่อไปยังเกษตรกร

สำหรับ 'ปลาทับทิม' ที่นิยมรับประทานกันในทุกวันนี้ ได้นำปลานิลจิตรลดา มาใช้เป็นต้นตระกูล พร้อมกับคัดเลือกสายพันธุ์ปลาที่มีลักษณะเด่นมากในด้านต่างๆ จาก อังกฤษ อเมริกา อิสราเอลและไต้หวัน มาผสมข้ามสายพันธุ์กันและปรับปรุงสายพันธุ์ทางด้านคุณภาพให้ดีขึ้นโดยวิธีตามธรรมชาติ ไม่ใช้การตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMOs) กระทั่งได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะภายนอกอันโดดเด่น คือ สีของเกล็ดและตัวปลาที่มีสีแดงอมชมพูดูเป็นมงคล จึงได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า 'ปลาทับทิม' เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541

ที่มา ตามรอยพ่อ
ที่มา:http://variety.teenee.com/foodforbrain/72372.html

You Might Also Like

0 comments

Flickr Images

Close
Advertiser
loading...